เป็นพระเทพกวี
ครั้นถึง
พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงตั้งพระธรรมกิตติ (โต) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ (ข้ามชั้นราช)
มีนามสมณศักดิ์ว่า พระเทพกวี คราวนี้เองแหละที่ท่านต้องแต่งสุภาษิตสอนศิษย์วัด
เป็นคำกลอนไว้ฝีมือท่านว่าท่านเป็นพระเทพกวี สุภาษิตคำกลอนที่สมเด็จฯ แต่ง
พิมพ์แพร่หลายมานานแล้ว กระทรวงธรรมการก็เคยพิมพ์เผยแพร่ นักเขียนเรื่องสมเด็จฯ
ก็เคยพิมพ์เผยแพร่ เป็นคำกลอนที่ท่านแต่งด้วยอารมณ์ขัน สอนศิษย์ไม่ให้ประพฤติตนเป็นขี้เหล้าเมายา
ลักขโมย สูบฝิ่น ซึ่งคนไทยยังประพฤติชั่วในทางนี้อยู่มากในสมัยนั้น เรื่องสูบฝิ่นนี้แม้แต่ตำรวจก็สูบกัน
เจ้านายบางองค์ก็สูบฝิ่นด้วย
ปู่ของข้าพเจ้าซึ่งเป็นลูกชายของคนชั้นที่เรียกกันว่าผู้ดีมีสกุล
ก็ยังนิยมไปนอนในโรงยาฝิ่น ให้คนทำฝิ่นให้สูบ ถือว่าเป็นของโก้เก๋
เป็นนักเลงที่มีสมัครพรรคพวกมาก มีคนเกรงใจ ไม่เป็นชายหน้าตัวเมีย การเป็นนักเลงสมัยก่อน ต้องสูบฝิ่นกินสุรา
เล่นการพนัน เพื่อจะมีสมัครพรรคพวกมาก นี่คือความนิยมของคนสมัยนั้น สมเด็จโต
ท่านจึงสำแดงเป็นกวีด้วยการแต่งสุภาษิตคำกลอนขึ้นสอนลูกศิษย์
เหมือนที่พระภิกษุสุนทรภู่
ท่านแต่งโลกนิติคำกลอนขึ้นสอนศิษย์เมื่อท่านบวชอยู่วัดสระเกศ พ.ศ. ๒๓๘๖ ท่านเป็นพระสมัยเดียวกัน
สุนทรภู่เอาดีทางเป็นกวี แต่สมเด็จโตท่านเอาดีทางสมถวิปัสสนา แต่ว่าเมื่อตั้งท่านเป็นพระเทพกวี
ท่านก็เลยต้องแต่งกลอนสุภาษิต เพื่อมิให้คนดูหมิ่นท่าน
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น