ฉ้อศก ฉอศก ฉศก
เดิมไทยเรานิยมใช้จุลศักราช
มักอ่านกันเน้นที่ตัวอักษรขระท้ายศก เช่นจุลศักราช ๑๒๒๖ อ่านว่า ฉ้อศก เลข ๖
อ่านว่าฉ้อศก เพราะหกแปลว่าโกหกในภาษาพูด ที่ใช้คำว่าขี้ฉก
คราวหนึ่งสมเด็จท่านไปเทศน์ในวัง
พอดีตรงกับจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ ท่านก็ย้ำว่า ฉศก ฉศก ฉศก พระจอมเกล้าฯ
ท่านเป็นนักอักษรศาสตร์ ได้สดับเช่นนั้นจึงตรัสว่า ดีๆ ถูกๆ ต่อมาจึงมีประกาศว่า
ต่อไปนี้ให้อ่านว่า ฉศก ห้ามอ่านว่าฉ้อศก ฉะนั้นคำว่า ฉศก จึงมาจากคำของสมเด็จในคราวนั้น
แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็เป็นเรื่องที่แสดงว่า
ท่านเป็นคนชอบเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ผิดให้ถูกต้องเสมอ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น