พระสมเด็จวัดราชนัดดา
เมื่อพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระราชโอรสในเจ้าจอมมารดาบาง ไกรบุญ สิ้นพระชนม์ลงใน พ.ศ. ๒๓๗๘ พระชนมายุเพียง ๒๔ ปี พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเศร้าโศกพระราชหฤทัยมาก จึงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายเป็นการใหญ่ เนื่องจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณทิ้งพระธิดาองค์น้อยเป็นกำพร้าไว้องค์หนึ่งด้วย จึงทรงสร้างวัดพระราชทานริมคลองมหานาค ภายในกำแพงวัง พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดราชนัดดา หมายถึงพระองค์หญิงโสมนัส พระราชนัดดา อันเป็นธิดากำพร้าของพระองค์เจ้าลักขณานุคคุณ ที่มีนามว่า พระองค์เจ้าโสมนัส พระองค์เจ้าโสมนัสองค์นี้ เมื่อพระจอมเเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์สมบัติ ในพ.ศ. ๒๓๙๔ ได้ถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาของพระจอมเกล้า ฯ พระจอมเกล้าฯทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระมเหสีองค์แรก แต่สวรรคตเสียเมื่อพระชนมายุเพียง ๒๐ ปี พระจอมเกล้าฯ จึงทรงใช้เงินทรัพย์มรดกสร้างวัดพระราชทานให้อีกวัดหนึ่ง คือ วัดโสมนัสวรวิหาร
เมื่อพระนั่งเกล้าฯ ทรงสร้างวัดราชนัดดาแล้ว ทำพิธีฉลองได้ทรงสร้างพระเครื่องขึ้นแบบหนึ่ง แกะพิมพ์สวยงามมาก เพราะใช้ช่างหลวงแกะแล้วลงรักปิดทองทุกองค์ ทำพิธีพุทธาภิเษกที่ัวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง อาราธนาพระเกจิอาจารย์สมัยนั้นที่มีชือเสียงทางฌานสมาบัติจำนวน ๑๐๘ รูป มาทำพิธีปลุกเสก ในจำนวนพระเกจิอาจารย์รุ่นนั้นมีหาโต หรือขรัวโต ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทางฌานสมาบัติด้วยองค์หนึ่ง
แบบพิมพ์พระเครื่องวัดราชนัดดานี้เอง ต่อมาสมเด็จพระพุฒาจารย์โตได้นำมาเป็นแบบพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังในเวลาต่อมา เรียกกันว่า สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ทรงนิยม เป็นที่นิยมของนักเลงพระเครื่องว่าเป็นแบบพิมพ์ที่งามที่สุดในบรรดาพระสมเด็จทุกพิมพ์
ต่อมาเมื่อมีการซ่อมแซมบูรณปฎิสังขรณ์วัดราชนัดดาในเวลาต่อมาอีก ๑๐๐ ปี คือในพ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีผู้พบพระสมเด็จวัดราชนัดดาจำนวนมากบนเพดานพระอุโบสถ จึงเอามาจำหน่ายแจกจ่าย พระสมเด็จวัดราชนัดดานี้มีแปลกกว่าสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ๋อยู่อย่างหนึ่งคือมีลงรักปิดทองทุกองค์
พระสมเด็จวัดราชนัดดานี้ มีคุณภาพทางพุทธคุณเสมอพระสมเด็จวัดระฆัง เนื่องจากสมเด็จวัดราชนัดดา สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ท่านก็ทำพิธีปลุกเสกเหมือนกัน ยิ่งกว่านั้น สมเด็จวัดราชนัดดานี้ยังทำพิธีปลุกเสกในวัดพระแก้ว มีพระเกจิอาจารย์ทางฌานสมาบัติมาร่วมพิธีปลุกเสกถึง ๑๐๘ องค์ เป็นพิธีหลวงที่ทำตามแบบโบราณครบถ้วน รูปทรงสวยงาม เนื้อผงมีมวลสารอย่างเดียวกัน
หลังจากสร้างวัดราชนัดดาแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบกิตติคุณของพระมหาโตว่าเก่งทางสมถวิปัสสนา แล้วยังเก่งทางเทศนาไพเราะมีสำนวนโวหารเป็นที่ถูกอกถูกใจมหาชน จึงทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติ แต่่สมเด็จท่านมักท่องเที่ยวธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ จนตลอดรัชกาล จึงตามตัวท่านมารับสัญญาบัตรไม่ได้
จนถึงรัชกาลที่ ๔ พระจอมเกล้าฯ ให้สังฆการีไปตามตัวและนำเข้ามาในวัง พระราชทานสัญญาบัตรพระธรรมกิติให้ ท่านจึงรับสัญญาบัตรเป็นพระธรรมกิติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ ในขณะที่อายุวัยชรา ๖๕ ปี แล้วทรงแต่งต้ังให้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม
สมเด็ท่านถึงพัดยศไปเดินประทักษิณพระอุโบสถ ๓ รอบ ปากก็บอกว่า
"โปรดเถิดเจ้าข้าเอ๊ย ในหลวงท่านตั้งให้ฉันมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้นะจ๊ะ"
สมเด็จท่านเป็นเจ้าอธิการวัดระฆังโฆษิตารามมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๖๗ มาจนถึงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๘๕ เป็นเวลานานถึง ๑๘ ปี จนถึงวันดับขันธ์
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น