มนต์คาถาในพระพุทธศาสนา
พระภิกษุในสมัยโบราณ นับแต่กรุงสุโขทัยถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ท่านมักบวชกันหลายพรรษา จึงมีคำกล่าวในวงพระภิกษุว่า พรรษาหนึ่งกำลังผ่อง พรรษาสองกำลังงาม พรรษาสามกำลังดี พรรษาสี่กำลังกล้า พรรษาห้ากำลังแก่... แม้บิดาของข้าพเจ้าก็บวชนานถึงสามพรรษา ตามอย่างพระโบราณ พระที่บวชนานหลายพรรษาเช่นนี้ ต้องบวชเพื่อเรียน ๔ อย่าง
๑.เรียนสมถวิปัสสนา เรียกว่าเรียนปฏิบัติ
๒.เรียนสวดมนต์ภาวนา เรียกว่าท่องบ่น
๓.เรียนพระปริยัติธรรม เรียกว่าเรียนบาลี
๔.เรียนแสดงธรรมเทศนา เรียกว่าเรียนเทศน์ คือเทศน์แหล่ทำนองเสนาะ
๕.เรียนเทศน์แหล่ สวดเป็นทำนองเสนาะ
พระบวชแล้วต้องเรียน จะเลือกเรียนอย่างไหนก็เลือกเรียนเอาตามถนัดหรือตามนิสัย ตามฉันทะความพอใจของตน หรือเรียกว่าตามแต่วาสนาบารมีของตน จะบวชนั่งนอนฉันเท่านั้นไม่ได้ จะต้องตายไปเกิดเป็นวัวควายทำนาใช้หนี้ข้าวสุกของชาวบ้านที่บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
กล่าวโดยเฉพาะ การเรียนสวดมนต์ภาวนานั้น ต้องท่องบ่นสาธยายพระสูตร มนต์ คาถาให้ได้ มนต์คาถาที่ท่านได้ท่องบ่นภาวนาในสมัยโบราณมีมาก กล่าวคือ
๑. ธชัคคสูตร
๒. อิสิปตนะสูตร
๓. มหาสมัยสูตร
๔. ปรินิพพานสูตร
๕. รัตนะสูตร
๖. ปาฏิโมกขสูตร
๗. มงคลสูตร
๘. อาการะวัตตสูตร
๙. ทิพยมนต์
๑๐. ไชยมงคล
๑๑. มหาไชยมงคล
๑๒. อุณหิสวิชชัย
๑๓. โพชฌงคสูตร
๑๔. มนต์สาวัง
๑๕. มนต์มหาสาวัง
๑๖. รัตนะมาลา
๑๗. ธารณปริตร
๑๘. ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
๑๙. ชินบัญชรปริตร
มนต์คาถาดังกล่าวนามมานี้ พระในสมัยโบราณสวดได้หมด เพราะท่านมีเวลาท่องบ่นสาธยายมนต์ โดยเฉพาะสมเด็จท่านเรียนปริยัติธรรมด้วย ท่านจึงรู้ความหมายของมนต์บทนั้นว่ามีความหมายว่าอย่างไร ท่านจึงมีความแตกฉานในธรรมะมาก ในเวลาเดียวกันท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ (แปลว่าอาจารย์ชั้นยอดเยี่ยม) ด้วย
แต่พอตกถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น ในนิกายนี้ไม่นิยมการสวดมนต์ที่ไม่รู้ความหมาย ท่านส่งเสริมแต่ทางปริยัติธรรม ท่านไม่เชื่อเรื่องอิทธิฤทธ์ปาฏิหาริย์ อันเกิดจากฌานสมาบัติ การสวดมนต์แบบโบราณจึงพล่อยร่วงโรยไป พระสมัยต่อมาไม่นิยมสวดมนต์ตามแบบโบราณเสียแล้ว มนต์คาถาในพุทธศาสนาจึงแทบว่าจะสาบสูญไป
อานิสงส์ของการสวดมนต์ มีมากมายสุดที่จะพร่ำพรรณนานา ผู้มีศรัทธาสวดมนต์ย่อมทราบได้ด้วยตนเองเป็นปัจจัตตัง
สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ท่านสวดมนต์ได้หมดทั้ง ๑๙ มนต์ถาถาที่ออกนามแล้วนั้น โบราณท่านถือว่าเป็นบุญวาสนาที่สั่งสมมาแต่ปางก่อน คือพระภิกษุบางองค์ท่านสวดปาฏิโมกข์ไดในพรรษาแรกที่บวช ท่องมนต์อะไรก็ท่องได้เร็ว จำได้แม่นยำ สมเด็จท่านมีชื่อว่าช้างเผือก เมื่อคราวที่พระอรัญญิก (ด้วง) พาท่านไปฝากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดระฆัง ตกกลางคืนท่านยังฝันว่ามีช้างเผือกมากัดกินพระไตรปิฎกในตู้ของท่านหมด ท่านจึงว่าวันรุ่งขึ้นจะต้องมีคนดีมีปัญญากล้ามาเป็นศิษย์แน่ วันรุ่งขึ้นเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) ก็นำสมเด็จมาฝากเป็นศิษย์เรียนปริยัติธรรม ท่านว่าเขาแปลพระบาลี เปิดหนังสือพระไตรปิฎก แล้วแปลให้อาจารย์ฟัง จนอาจารย์พูดว่า เขามาแปลพระบาลีให้ฉันฟัง เขามิได้มาเรียนพระบาลีกับฉันดอก นี่คือความแตกฉานของท่าน ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า แตกฉานมี ๔ ประการ
๑. อัตถปฎิสัมภิทา
๒. ธรรมปฎฺิสัมภิทา
๓. นิรุกติปฎิสัมภิทา
๔. ปฎิภาณปฎิสัมภิทา
โบราณเรียกว่า มุตโตแตก คือแตกฉานได้เอง จากปัญญาบารมีที่่สั่งสมมาแต่ปางก่อน
๑. อัตถปฎิสัมภิทา
๒. ธรรมปฎฺิสัมภิทา
๓. นิรุกติปฎิสัมภิทา
๔. ปฎิภาณปฎิสัมภิทา
โบราณเรียกว่า มุตโตแตก คือแตกฉานได้เอง จากปัญญาบารมีที่่สั่งสมมาแต่ปางก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น